วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เปรียบเทียบ OSI กับ TCP/IP


โปรโตคอล TCP/IP มีการจัดกลไกการทำงานเป็นชั้นหรือ Layer เรียงต่อกันไป เหมือนกับ OSI - Reference Model ดังบทที่ 2 ที่ได้กล่าวไว้แล้ว โดยในแต่ละ Layer นั้นจะมีการทำงานเทียบได้กับ OSI - Reference Model แต่บาง Layer ของโปรโตคอล TCP/IP จะทำงานเทียบกับ OSI-Reference Model หลาย Layer ปนกัน ซึ่งในแต่ละ Layer ของ โปรโตคอล TCP/IP จะประกอบไปด้วย
1. Process Layer หรือ Application Layer (Telnet,FTP,SMTP-Email,DNS) 2. Host-To-Host Layer (TCP,UDP) 3. Internetwork Layer (IP Address,ICMP,ARP,RARP) 4. Network Interface Layer (Device Driver , Ethernet , Token ring) โดยเมื่อได้เทียบลำดับชั้น ( Layer ) กับมาตรฐานของ OSI - Reference Model แล้ว จะเป็นดังรูปที่ 1 ซึ่ง เราจะเห็นว่า บาง Layer ของ TCP/IP นั้นจะเทียบได้กับ มาตรฐาน ISO Model ได้ 2 ชั้น อย่างเช่น Layer ของ Process Layer ของโปรโตคอล TCP/IP จะเทียบได้กับ 2 Layer คือ Application Layer กับ Presentation Layer ของ OSI - Reference Model รวมกัน เป็นต้น
โครงสร้างของสถาปัตยกรรมรูปแบบ DoD - Reference Model
สามารถการแบ่งออกเป็น 4 เลเยอร์ และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการกำหนดหน้าที่การทำงานไว้ดังต่อไปนี้
1.เลเยอร์ชั้น Process Layer จะเป็น Application Protocol เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ โปรโตคอลหลัก ๆ ที่ทำงานและให้บริการในชั้น Process Layer นี้ก็มีอย่างเช่น FTP , Telnet , HTTP , SMTP เป็นต้น
จากรูปแสดงลำดับชั้นการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP เทียบกับมาตรฐานของ OSI - Reference Model นั้น ในชั้นบนสุดที่เรียกว่า Process Layer ทำงาน 2 หน้าที่เทียบได้กับ Application Layer และ Presentation Layer
2. เลเยอร์ชั้น Host - To - Host Layer จะเป็น TCP หรือ UDP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นของ Session Layer และ Transport Layer ของ OSI - Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูล จากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล และตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยให้เหมาะสม กับเครือข่ายที่ใช้รับส่งข้อมูล รวมทั้งประกอบข้อมูลส่วนย่อย ๆ นี้เข้าด้วยกันเมื่อถึงปลายทาง
3. เลเยอร์ชั้น Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นของ Network Layer ของ OSI - Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป และทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูล ผ่านอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ จนไปถึงผู้รับข้อมูล ในชั้นนี้จะจัดการกับกลุ่มข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่า Frame ในรูปแบบของ TCP/IP ที่เรารู้จักกันนั้นเอง
4. เลเยอร์ชั้น Network Interface Layer เป็นชั้นที่ควบคุม Hardware การรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งเทียบได้กับชั้น Datalink Layer กับ Physical Layer ของ OSI - Model ในชั้นนี้จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Hardware และควบคุมการรับส่งข้อมูลในระบบ Hardware ของเครือข่าย ซึ่งที่ใช้กันอยู่จะเป็นตามมาตรฐานของ IEEE เช่น IEEE 802.3 จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Ethernet Lan หรือ IEEE 802.5 จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน Lan แบบ Token Ring เป็นต้น
เราจะเห็นได้ว่าที่จริงแล้ว Protocol TCP/IP นั้น แบ่งออกเป็น 2 โปรโตคอลซ้อนกันอยู่ คือ TCP จะอยู่ในชั้นบน และ IP จะอยู่ในชั้นถัดลงมา นั้นคือ TCP/IP ไม่ได้เป็นโปรโตคอลชนิดเดียวกันทั้งหมด และไม่ได้เชื่อมติดเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด TCP ก็มีมาตรฐานของเฟรมที่ใช้รับส่งข้อมูลของมันเอง และมีหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลแตกต่างไปจาก IP ซึ่งในการรับส่งข้อมูลนั้น เฟรมของ TCP ที่อยู่ในชั้นบนทั้งหมดจะถูกผนึกอยู่ในส่วนที่เป็นข้อมูลของ IP เหมือนกับที่แต่ละชั้นของ OSI - Reference Model ผนึกข้อมูลในชั้นถัดไปนั่นเอง
ถึงแม้ว่า TCP/IP จะไม่ได้มีการแบ่งชั้นของการสื่อสารข้อมูลตรงตาม OSI - Reference Model และไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ OSI ก็ออกแบบมาให้เปิดกว้างและเข้ากันได้ดีกับ TCP/IP โดย TCP จะเทียบได้ประมาณชั้นที่ 4 ของ OSI - Model และ IP จะเทียบได้กับประมาณชั้นที่ 3 ของ OSI - Model แม้ว่าจะไม่ลงตัวกันพอดีนัก แต่ก็สามารถเชื่อมต่อด้วยกันได้ ทำให้มาตรฐานของ OSI - Model สามารถนำ TCP/IP มาใช้งานร่วมกันได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น: