วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปบทที่ 8

บทที่ 8
การรับส่งไฟล์ และระบบไฟล์
การใช้งานบราวเซอร์ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่แสดงข้อมูลของเว็บเพจต่าง ๆ เท่านั้นยังสามารถใช้บราวเซอร์เพื่อดาวน์โหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ มาใช้งานได้อีกด้วย
FTP (File Transfer Protocol : RFC 959)
FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยกำเนิดมาจากการเป็นคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ
ระบบเสริมอื่น ๆ ในการเรียกใช้ข้อมูลข้ามเครื่อง
ในการรับส่งไฟล์ด้วยโปรแกรมที่ใช้โปรโตคอล FTP โดยทั่ว ๆ ไปนั้นมักจะประสบปัญหาในกรณีที่เป็นไฟล์ขนาดใหญ่ ๆ และต้องหยัดการรับส่งกลางคัน เช่น สายเชื่อมต่ออินเตอร์หลุดในขณะที่รับส่งไฟล์ยังไม่เรียบร้อย ทำให้ต้องย้อนไปเริ่มติดต่อเข้าอินเตอร์เน็ตและเริ่มรับส่งไฟล์ใหม่ ตั้งแต่ต้น ถึงแม้ในปัจจุบันระบบสื่อสารและโมเด็มมีความเร็วสูงมากขึ้นก็ตาม แต่เหตุการณ์ลักษณะนี้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้รับข้อมูลส่วนที่ต่อจากข้อมูลเดิมที่ยังไม่ครบถ้วน
GetRight
GetRight เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับบราวเซอร์ โดยปกติเมื่อโปรแกรมบราวเซอร์จะดาวน์โหลดไฟล์ จะแสดงไดอะล็อกซ์บล็อกให้เลือกไดเร็คทอรีที่จะเก็บไฟล์หลังจากดาวน์โหลด

สรุปบทที่ 7

บทที่ 7
อีเมล์ และโปรโตคอลของอีเมล์
อีเมล์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้เริ่มใช้งานกันมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคของเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบอีเมล์ที่เรียกว่า PROFS ออกมาใช้งาน นอกจากนี้ก็มีระบบ UNIX ต่อมาหลาย ๆ ค่ายก็ได้พัฒนาระบบอีเมล์ของตนขึ้นมา
Workflow
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อให้ขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไปแบบอัตโนมัติมากขึ้น
โปรโตคอลประเภทการใช้งาน
การทำงานทั่ว ๆ ไปของอีเมล์โดยสรุปมีเพียง 2 ประเภท คือ การส่งอีเมล์ และการรับอีเมล์ โดยโปรโตคอล SMTP จะใช้ขณะที่ User agent ส่งอีเมล์มาที่ MTA (เฉพาะแบบ Offline) และใช้ขณะรับและส่งอีเมล์ระหว่าง MTA ด้วยกัน
POP3 (Post Office Protocol : RFC 1939)
สำหรับผู้ที่ใช้งานอีเมล์บนอินเตอร์เน็ตมาแล้ว คงจะคุ้นเคยกับโปรโตคอลที่เรียกว่า POP กันเป็นอย่างดี เพราะเป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์มาจาก MTA ไปยัง User agent
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol : REF 821)
เป็นโปรโตคอลที่คู่กับ POP3 ก็คือ SMTP เพราะเป็นโปรโตคอลที่ใช้ส่งอีเมล์จาก User agent ของผู้ส่งไปยัง MTA ของผู้ส่ง และส่งต่อไปยัง MTA เครื่องอื่น ๆ ที่เป็นจุดผ่านในการเชื่อมต่อไปยังเครื่องผู้รับ

สรุปบทที่ 6

บทที่ 6
Domain Name System (DNS)
การติดต่อส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นสิ่งที่จะช่วยทำให้การส่งผ่านข้อมูลประสบความสำเร็จคือ การอ้างอิงระบุตำแหน่งที่ชัดเจนถูกต้องโดยอาศัยหมายเลข IP Address เป็นจุดอ้างอิง เมื่อมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น การใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แพร่หลายไปในหมู่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่นักคอมพิวเตอร์หรือนักวิชาการ หากแต่เป็นผู้ใช้ทั่วไปที่มีความรู้ด้านนี้น้อย การที่จะจดจำหมายเลข IP Address เพื่ออ้างอิงเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่จะไปเยี่ยมชมดูจำลำบาก และมักจะสับสนหลงลืมได้ง่ายผลลัพธ์ก็คือทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานลดลง
Domain Name System (DNS : RFC 1035)
ระบบ Domain Name System หรือ DNS นี้เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว
Host File
ก่อนที่ระบบ DNS จะถูกพัฒนาขึ้นใช้งานนั้น เครือข่ายต่าง ๆ ที่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ โดยที่จะเรียกเครื่องนั้นว่า host และมีการตั้ง host นั้นให้สามารถเรียกได้ง่าย